จังหวัดลำพูน ตราประจำจังหวัดลำพูน คำขวัญจังหวัดลำพูน ความเป็นมา จังหวัดลำพูน เดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤาษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตร หรือ ชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวง และแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญ ราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม "จามเทวี มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชย สืบราชวงศ์กษัตริย์ ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้รวบรวม แว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา เมืองลำพูน ถึงแม้ว่า จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรีเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เมืองหริภุญชัยในอดีตเคยตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าและมอญมาหลายยุคหลายสมัยร่วม 200 กว่าปี ครั้นถึงปีพ.ศ 2317 พระเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน(บุญมา) ได้ช่วยกันฝึกและรวบรวมทหารกล้าทั้งหลายขับไล่พม่าออกจากแคว้นลานนาไทยได้โดยสิ้นเชิง สามารถกอบกู้เอกราชของล้านนาไทยกลับคืนมาได้อีกครั้งหนึ่ง และได้อพยพไพร่พลของพญายอง(เจ้าเมืองยอง) จากทุกแห่งหนมารวมกันเป็นกลุ่มชนขนาดใหญ่ แล้วร่วมกันตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่ตำบลเวียงยอง ปัจจุบันให้ชื่อว่า "นครลำพูน" "เมื่อปี พ.ศ. 2348 โดยพระเจ้ากาวิละทรงตั้งพระอนุชาองค์พี่ ชื่อพญาคำฝั้นขึ้นครองเมืองลำพูนเป็นองค์แรก และตั้งพระอนุชาองค์น้องชื่อ เจ้าบุญมา เป็นอุปราช
1. เจ้าคำฝั้น ขึ้นครองเมืองตั้งแต่ พ.ศ 2357
ที่ตั้ง
จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพ มหานคร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (สายเอเซีย) เป็นระยะทาง 689 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน เป็นระยะทาง 724 กิโลเมตร และตามทางรถไฟ 729 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่เพียง 22 กิโลเมตรเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือตอนบน และอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง หรือพื้นที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่
ข้อมูลการเดินทาง
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี - งานมหกรรมผ้าฝ้ายผ้านวมป่าซาง
- ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย
- งานเทศกาลลำไย - งานฤดูหนาวและงานกาชาดจังหวัดลำพูน สถานที่สำคัญ - แหล่งท่องเที่ยว
------------------------------------------
วัดมหาวัน
วัดจามเทวี
เดิมชื่อว่า วัดพฤทธมหาสถาน พระเจดีย์วัดพระยืนเป็นพระเจดีย์ทรงมณฑป มีพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ เครื่องบนประกอบด้วยเจดีย์ห้ายอด โดยมีเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นประธาน คล้ายคลึงกับอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม และพระเจดีย์วัดป่าสัก จังหวัดเชียงราย
อนุสาวรีย์สุเทวฤาษี
อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี
ประดิษฐานอยู่บนแท่นสูงประมาณ 2 เมตร บนลานยกระดับ อนุสาวรีย์หล่อสำริด สูง 2.4 เมตร ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ ในอริยาบททรงยืน พระหัตถ์ซ้ายถือดาบยาวปลายแตะพื้น พระหัตถ์ขวายื่นมือออกมาเบื้องหน้า รอบบริเวณเป็นลานอิฐโล่งกว้างขวาง มีกำแพงล้อมรอบ บนกำแพงประดับด้วยหม้อน้ำต้น และช้างดินเผา ด้านหลังอนุสาวรีย์ก่อเป็นกำแพงสีน้ำตาลแดงเลียนแบบปราสาทหินศิลปะทวารวดี ตั้งอยู่กลางเมืองลำพูน ใกล้กับอนุสาวรีย์มีแหล่งกินมื้อค่ำ เป็นตลาดใหญ่ และไม่ไกลกันเป็นตลาดขายส่งผักและผลไม้ตอนค่ำ ชื่อตลาดสดหนองดอก
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ดอยขะม้อ
พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน
พระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย
ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๘ ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ใกล้วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ก่อนที่จะสร้างพระมหาเจดีย์ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาได้พบมูลโคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยที่ทรงมาใช้ชาติเป็นโคพระโพธิสัตว์ และมูลโคนี้ก็ได้กลายสภาพเป็นพระบรมธาตุจึงมีความตั้งใจที่จะสร้างพระมหาเจดีย์ธาตุครอบทับสถานที่แห่งนี้ไว้ ด้วยเกรงว่าต่อไปในภายหน้า หากไม่ทำอะไร สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ก็คงจะมีชาวบ้านมาสร้างเรือนทับด้วยเพราะความไม่รู้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆณาช สกลมหาสังฆปรินายก ประทานนามพระมหาเจดีย์นี้ว่า พระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัยพุทธเจดีย์พระเจ้าห้าพระองค์ สิ่งสักการะแทนองค์พระศาสดาทั้งห้าของภัทรกัปแห่งแรกที่สร้างด้วยศิลาแลงทั้งองค์ที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย ประดิษฐาน ณ วัดหนองวัวเฒ่า หมู่ที่ ๙ บ้านหนองปู วัดพระพุทธบาทตากผ้า
วัดศรีดอนชัย วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาสูง 59 ศอก เป็นพระพุทธรูปที่สูงและใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ สร้างขึ้นจากศรัทธาของประชาชน ในปี พ.ศ. 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 และพระองค์ทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธเฉลิมสิริราช
เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์เก่าแก่ซึ่งมีพระสารีริกธาตุบรรจุอยู่ สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 1220 ในสมัยพระนางจามเทวี ตามตำนานจารึกในใบลานเล่าว่าขุนหลวงปาละวิจา มาตั้งเมืองที่นี่ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านและได้สร้างวัดไว้บนดอย ต่อมาถูกไฟป่าไหม้ลุกลาม ทำให้เหลือแต่เจดีย์และศาลาเล็ก ๆ หลังหนึ่ง วัดนี้ยังมีพระพุทธรูปเก่าแก่อีก 3 องค์ องค์แรกเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว
พระธาตุดอยห้างบาตร เป็นเจดีย์ทรงจัตุรมุขสีขาว มีฉัตรทองอยู่ยอดเจดีย์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อไร พระธาตุแห่งนี้อยู่บนยอดดอยที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกล
ข้อมูลที่พัก
|
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ คำแถลงว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล